วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 11

การกำหนดมาตรฐานคุณภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ครูจะต้องทำกิจกรรม 7 อย่างคือ         1)  การวิเคราะห์หลักสูตร 2) การวิเคราะห์ผู้เรียน 3) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย  4)  การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน  5) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ 6) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ  7) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน
       จากประเด็นดังกล่าว นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  (ข้อสอบ 20 คะแนน) ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้

  เช่น  การจัดการสอนของข้าพเจ้า ก็ คือ
   1. ดูว่าวิชาที่เราจะสอนหลักสูตรแกนกลางเขากำหนดว่าอย่างไรต้องการให้ผู้เรียน รู้อะไรแล้วนำความสำคัญนั้นมาปรับเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
  2.  และเรามาดูว่าผู้เรียนมีลักษณะอย่างไร และเราต้องการให้ผู้เรียนรู้อะไร โดยจะต้องเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในการจัดกิจกรรม
  3. ในการจัดกิจกรรมเราจะเน้นสื่อเป็นจุดเชื่อมเรื่องต่างๆของกิจกรรม
  4. โดยการจัดกิจกรรมเราจะประเมินผลโดยเพื่อนของนักเรียนและครูผู้สอนหรือครูผู้สอนคนอื่น
  5. เมื่อได้ผลประเมินมาครูผู้สอนก็นำมา วัดผล วิเคราะห์และสงเคราะห์ออกมา ดูว่าผู้เรียนแต่ละคนผลเป็นอย่างไรแล้วนำส่วนที่บกพร่องไปปรับปรุงแก้ไขไห้ ดีขึ้น
  6. การจัดการเรียนการสอนจากการสังเกต  วัดผล  ทดสอบต่างๆ  เรานำมาวิจัยดูพฤติกรรมของผู้เรียนและนำไปพัฒนานวัตกรรมสื่อใหม่ๆเพื่อการ เรียนรู้และปรับปรุงการสอนให้ดีขึ้นและนำประสบการณ์มาปรับปรุงและแก้ไขนำไป ใช้ในอนาคต  
  7. ในการจัดกิจกรรมครูควรจัดกิจกรรมจะต้องให้ผู้เรียนได้แสดงความสามารถในลักษณะต่าง ๆ และเปิดโอกาสให้มีความหลากหลายในการเรียนรู้
  8.  ในการจัดกิจกรรมเราจะเน้นสื่อเป็นจุดเชื่อมเรื่องต่างๆของกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ไห้มากที่สุด

กิจกรรมที่ 10

ให้นักศึกษาได้ศึกษาเหตุการณ์ในประเด็นต่อไปนี้
เหตุการณ์ที่ผ่านมาเกิดขึ้นกับประชาชนและประเทศไทยให้นักศึกษาอ่านและศึกษาข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ Internet  Bolg ต่าง ๆ และแสดงความคิดเห็นสรุปวิเคราะห์สังเคราะห์ ลงในบล็อกของนักศึกษาในกิจกรรมที่10
กรณีเขาพระวิหารจังหวัดศรีสะเกษ 
 
ผู้ ค้นพบปราสาทพระวิหารในสมัยปัจจุบันคือ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ พระราชโอรสองค์ที่ ๑๑ ใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงพบเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๒ ขณะทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็น ข้าหลวงต่างพระองค์ เสด็จไปรับราชการที่มณฑลลาวกาว (อีสาน) ในสมัยรัชกาลที่ ๕ และได้ทรงจารึกปี ร.ศ. ที่พบเป็นเลขไทย ตามด้วยพระนามไว้ที่บริเวณชะง่อนผาเป้ยตาดี เป็นข้อความว่า "๑๑๘ สรรพสิทธิ" ต่อมาเมื่อประเทศฝรั่งเศสเข้าครอบครองอินโดจีนได้ทำสนธิสัญญา พ.ศ. ๒๔๔๗ ในการปักปันเขตแดนกับราชอาณาจักรสยาม โดยมีความตามมาตรา ๑ ของสนธิสัญญา ระบุให้ใช้สันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน ซึ่งมีผลให้ปราสาทพระวิหารอยู่ในดินแดนไทย ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๕๑ ฝรั่งเศสได้จัดทำแผนที่ฝ่ายเดียว ส่งมอบให้สยาม ๕๐ ชุด แต่ละชุดมี ๑๑ แผ่นและมีแผ่นหนึ่งคือ "แผ่นดงรัก" ที่ครอบคลุมพื้นที่ปราสาทพระวิหาร และไม่ได้ใช้แนวสันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน ทำให้ปราสาทพระวิหารในแผนที่อยู่ในดินแดนของกัมพูชา โดยที่รัฐบาลสยามในขณะนั้นไม่ได้รับรองหรือทักท้วงความถูกต้องของแผนที่ดัง กล่าว
ต่อ มาในปี พ.ศ.  ๒๔๘๓ ประเทศฝรั่งเศสแพ้สงครามต่อประเทศเยอรมนี ทำให้แสนยานุภาพทางทหารลดลง จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ยื่นข้อเสนอเรียกร้องดินแดนที่เสียไปในสมัยรัชกาลที่ ๕ คืนจากฝรั่งเศส ซึ่งฝรั่งเศสปฏิเสธและมีการเคลื่อนไหวทางทหาร ที่ทำให้เกิด สงครามพิพาทอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศสขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ประเทศไทยได้รับชัยชนะในการรบตลอด ๒๒ วัน กระทั่งประเทศญี่ปุ่นที่เป็นมหาอำนาจในขณะนั้นเสนอตัวเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ย และฝรั่งเศสได้ตกลงคืน จังหวัดไชยบุรี จำปาศักดิ์ เสียมราฐ และ พระตะบองให้กับไทย ตาม อนุสัญญาโตเกียว ทำให้ปราสาทพระวิหารกลับมาอยู่ในดินแดนไทยอย่างสมบูรณ์ ต่อมาเกิด สงครามโลกครั้งที่ ๒ รัฐบาลไทยประกาศเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร และต่อมาญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงคราม ประเทศไทยต้องรักษาสถานะตัวเองไม่ให้เป็นฝ่ายแพ้สงครามตามญี่ปุ่นและต้องการ เข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ จึงตกลงคืนดินแดน ๔ จังหวัดให้ฝรั่งเศส ทำให้ปราสาทพระวิหารกลับไปอยู่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ต่อมาในปี         พ.ศ. ๒๔๙๗ ฝรั่งเศสแพ้สงครามต่อเวียดนามที่เดียนเบียนฟู ต้องถอนทหารออกจากอินโดจีน ประเทศกัมพูชาได้รับเอกราชตามสนธิสัญญาเจนีวา และไทยได้ส่งทหารเข้าไปรักษาการบริเวณปราสาทพระวิหารอีกครั้ง
ภาย หลังกัมพูชาได้รับเอกราช เจ้านโรดมสีหนุ กษัตริย์กัมพูชาสละราชสมบัติเข้าสู่การเมือง ได้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี และประกาศเรียกร้องให้ไทยคืนปราสาทพระวิหาร และไทยไม่ยอมรับ เจ้านโรดมประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๑ และในปีต่อมา เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ เจ้านโรดมสีหนุได้ฟ้องร้องต่อ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ  หรือศาลโลก ให้ไทยคืนปราสาทพระวิหาร ฝ่ายไทยต่อสู้คดีโดยมี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช กับคณะรวม ๑๓ คน เป็นทนายฝ่ายไทย และฝ่ายกัมพูชามีนายดีน แอจิสัน เนติบัณฑิตแห่งศาลสูงสุด อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา เป็นหัวหน้าคณะ กับพวกอีกรวม ๙ คน
กระทั่งวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๕ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ได้ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา ด้วยเสียง ๙ ต่อ ๓ และในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ หลังจากศาลโลกตัดสินแล้ว ๒๐ วัน รัฐบาลไทยโดย ดร.ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีหนังสือไปยัง นายอูถั่น เลขาธิการสหประชาชาติ เพื่อประท้วงคำพิพากษาของศาลโลก และสงวนสิทธิที่ประเทศไทยจะเรียกร้องปราสาทพระวิหารกลับคืนในอนาคต ทั้งนี้คำตัดสินของศาลโลกนั้นเป็นที่สิ้นสุด ไม่มีการอุทธรณ์ การจะนำคดีกลับขึ้นมาพิจารณาใหม่นั้นสามารถทำได้ถ้ามีหลักฐานใหม่และต้องทำ ภายในสิบปี หลังจากนั้นไม่นาน กัมพูชาเกิด สงครามกลางเมืองขึ้นภายในประเทศ ปราสาทหินแห่งนี้เปิดให้สาธารณชนเข้าชมเพียงช่วงสั้น ๆ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ แต่ปีต่อมาก็ถูก เขมรแดงเข้าครอบครอง จากนั้นก็เปิดอีกครั้งจากฝั่งประเทศไทย เมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๕๔๑
๒. กรณีพื้นที่ชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์  จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสระแก้ว ตราด เกาะกรูด ทะเลในอ่าวไทย
เพราะ นายกษิต ภิรมย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนแรกและคนเดียวที่เพิกถอนหนังสือ เดินทางทุกประเภทของนักโทษชายทักษิณ ชินวัตร ติดต่อทางการทูตกับหลายประเทศเพื่อให้ความร่วมมือในการมิให้นักโทษชายทักษิณ ทำร้ายประเทศไทยและยังขอความร่วมมือในการส่งตัวกลับมารับโทษทัณฑ์ในประเทศ ไทย จึงถือเป็นบุคคลอันตรายที่สุดในระบอบทักษิณ ใช่หรือไม่?
แต่ ที่น่าจับตามากที่สุดในเวลานี้ กลับเป็นเรื่องผลประโยชน์อันมหาศาลในเรื่องปราสาทพระวิหาร พื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหาร และดินแดนอธิปไตยของไทย  ๑.๕ ล้านไร่ ตลอดจนผลประโยชน์ทางพลังงานในพื้นที่อ่าวไทย ที่ฝ่ายกัมพูชากำลังรุกล้ำอย่างหนัก ซึ่งเชื่อว่า ไม่สามารถที่จะเจรจากับนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเพื่อให้ยินยอมในเรื่องเหล่านี้ได้
นายกษิต ภิรมย์ เป็นผู้เสนอทางออกเรื่องปราสาทพระวิหารว่า  ให้ทำหนังสือยกเลิกแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทยกับกัมพูชาส่งให้ประเทศกัมพูชาและคณะกรรมการมรดกโลกอัน เป็นที่มาของแถลงการณ์ในข้อเรียกร้องของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยใน เวลาต่อมา ซึ่งถึงวันนี้รัฐบาลก็ยังไม่ได้ทำตามข้อเรียกร้องดังกล่าวช่างบังเอิญว่า นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในช่วงหลังไม่ได้เป็นผู้เจรจากับนายฮุน เซน ในเรื่องปราสาทพระวิหารและผลประโยชน์ในอ่าวไทยอีกต่อไป แต่กลับเป็นนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ที่ไม่เจรจาเรื่องปราสาทพระวิหารและการรุกล้ำอธิปไตยของไทย แต่กลับไปเจรจาอย่างขะมักเขม้นในเรื่องผลประโยชน์พลังงานในอ่าวไทย ซึ่งดูเหมือนว่าจุดยืนจะไม่เหมือนกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายกษิต ภิรมย์ ตามคำสัมภาษณ์ตอนหนึ่งของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ว่า:
         “คิด ว่าความรุนแรงบริเวณเขาพระวิหารจะลดระดับลง อย่าไปคิดว่าเขาพระวิหารจะต้องมีอะไรโต้แย้งกันระหว่างไทยกับกัมพูชา เพราะศาลโลกตัดสินมาตั้งหลายสิบปีแล้วว่าเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา ส่วนการพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน ก็มีส่วนอื่นๆ
        เป็น ความคิดที่เหมือนเป็นพวกเดียวกันกับ นายนพดล ปัทมะ และนายสมัคร สุนทรเวช อย่างไม่ผิดเพี้ยน! ยังมีเรื่องน่าประหลาดใจมากขึ้นไปอีก ที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ยังคงเน้นไมตรีระหว่างประเทศจนมองข้ามการเจรจาเรื่องอธิปไตยในพื้นที่รอบ ปราสาทพระวิหาร มุ่งเน้นการเจรจาเรื่องผลประโยชน์พลังงานในอ่าวไทยแทน ซึ่งมีพฤติกรรมคล้ายคลึงกันกับรัฐบาลหุ่นเชิดเมื่อปีที่แล้ว
         ทำ ให้นึกถึงข่าวประจานของฝ่ายกัมพูชาที่ระบุว่า ประเทศไทยมีการเจรจาเรื่องปราสาทพระวิหารมาแลกเปลี่ยนปะปนกับผลประโยชน์ทาง ทะเล เมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม  พ.ศ ๒๕๕๑ จากหนังสือพิมพ์เดอะ คอมโบเดีย เดลี (The Cambodia Daily)โดยระบุถึงคำให้สัมภาษณ์ของ นายจาม ประสิทธิ์ รัฐมนตรีพาณิชย์ของกัมพูชา ที่ให้สัมภาษณ์ความตอนหนึ่งว่า:
          “ฝ่าย ไทยเป็นฝ่ายที่พยายามโยงกรณีพื้นที่ทับซ้อนบริเวณเขาพระวิหารเข้ากับผล ประโยชน์ทางทะเลในอ่าวไทยระหว่างการเจรจากับฝ่ายกัมพูชา ซึ่งกัมพูชาไม่เห็นด้วย โดยที่พวกเขา (ไทย) ต้องการโยง ๒ เรื่องเข้าด้วยกัน ดังนั้น หากเราแก้ปัญหาเขาพระวิหาร เราก็ต้องแก้ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนด้วย มันเป็นคนละเรื่องกัน ดูเหมือนว่าขณะนี้ฝ่ายไทยกำลังสร้างเงื่อนไขเพิ่มเติมขึ้นมา ทำให้การแก้ไขปัญหายากขึ้น

3)  กรณี MOU43 ของรัฐบาล นายชวนหลีกภัยมีผลต่อการจัดการพื้นที่ชายแดนอย่างไร หากมีการนำมาใช้จะก่อให้เกิดปัญหากับพี่น้องประชาชนในจังหวัดที่มีพื้นที่ ติดกับชายแดนไทยกับกัมพูชาอย่างไร
นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์กรณีที่หลายฝ่ายเรียกร้องให้มีการยกเลิกบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างไทยกับกัมพูชา ว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกร่วมกัน พ.ศ. ๒๕๔๓ ว่า ต้องการให้คนที่มีความเข้าใจ และเกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าวเป็นผู้พูด โดยเฉพาะ นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ และ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร อดีตรัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในขณะนั้น และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน
          สาเหตุที่มีการทำ MOU ดังกล่าว เพราะขณะนั้นมีข้อขัดแย้งตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา และทั้ง ๒ ฝ่าย พยายามหาข้อยุติร่วมกัน ในการปักปันเขตแดน โดยการปักปัน ก็เป็นไปตามกระบวนการที่ตกลงกันไว้ และแต่ละฝ่ายต้องไม่ละเมิดพื้นที่ จึงยืนยันได้ว่าการดำเนินการดังกล่าว ไม่ได้ทำให้ไทยเสียเปรียบ
          “ผม คิดว่า ในระหว่างนี้ หลังจากมีการทำข้อตกลง มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ควรต้องลงไปดูในพื้นที่ และคุยกับเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อย จะทำให้รู้เบื้องหลังบางเรื่อง ผมไม่ได้ทำอะไรให้ประเทศชาติเสียประโยชน์ สมัยผมไม่มีเรื่องผลประโยชน์ส่วนตัว ทุกอย่างทำเพื่อผลประโยชน์บ้านเมืองทั้งสิ้น และไม่คิดว่าเอ็มโอยู ปี ๔๓ กลายเป็นจำเลยของสังคม มีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่คิดเช่นนี้" นายชวน กล่าว
กองทัพไม่ประมาท เตรียมพร้อมป้องอธิปไตย เชื่อเขมรไม่พอใจเลื่อนพิจารณา เขาพระวิหาร

4)  กรณี คนไทย ๗ คน ประกอบด้วย สส.พรรคประชาธิปัตย์  (นายพนิต)  ประชาชนหัวใจรักชาติ (นายวีระ สมความคิด นายแซมดิน  นายตายแน่  มุ่งมาจนและผู้ติดตามผู้หญิงอีก ๒ ท่าน) ร่วมกับสส.ไปตรวจพื้นที่ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ใน การแบ่งเขต พื้นที่ชายแดน และถูกทหารกับพูชากับจับหรือลักพาตัวไปขึ้นศาลประเทศกัมพูชาในฐานะที่นัก ศึกษาเรียนวิชาสังคม จะนำความรู้มาอธิบายให้นักเรียนของท่านได้รับรู้ข้อมูลอย่างไร  โปรดสรุปและแสดงความคิดเห็น
สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานวันที่ ๗ ม.ค. โดยอ้างหนังสือพิมพ์พนมเปญ โพสต์ และสื่อท้องถิ่นของกัมพูชา ที่ระบุว่า กอย เกือง โฆษกกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา ออกมาให้สัมภาษณ์โดยยืนยันว่า การพิจารณาคดี  ๗ คนไทยที่ถูกกล่าวหาว่ารุกล้ำดินแดนของกัมพูชานั้น ไม่มีความเกี่ยวข้อง และถือเป็น "คนละประเด็น" กับเรื่องความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัมพูชาและไทย
โฆษกกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา เปิดเผยเรื่องดังกล่าวที่กรุงพนมเปญโดยยืนยันว่า กรณีของ  ๗ คนไทย ไม่ควรถูกนำมาโยงเป็นเรื่องเดียวกับความสัมพันธ์อันดีระหว่างเพื่อนบ้านทั้ง ๒ ประเทศ เพราะถือเป็นคนละประเด็นที่ต้อง"แยก" ออกจากกัน พร้อมย้ำว่า ในเวลานี้ต้องปล่อยให้ศาลเป็นผู้พิจารณาเท่านั้น โดยที่ฝ่ายอื่นยังไม่ควรเข้าไปก้าวล่วง
อย่าง ไรก็ดี โฆษกกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นใดๆ เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่สมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา จะร้องขอให้มีการอภัยโทษแก่คนไทยทั้ง ๗ คนในภายหลัง หากศาลกัมพูชามีคำพิพากษาความผิดของทั้งหมดออกมาแล้ว
ทั้ง นี้ ทางการกัมพูชายังไม่มีการกำหนดวันตัดสินคดีของทั้ง ๗ คน ไทยอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด แต่หากศาลตัดสินว่าทั้งหมดมีความผิดจริงในข้อหาเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ก็อาจต้องรับโทษจำคุกในเรือนจำของกัมพูชาสูงสุดเฉพาะข้อหานี้เป็นเวลานานถึง ๑๘ เดือน